เลือกช่างไฟฟ้า แก้ 5 ปัญหาไฟเสียในบ้าน

บทความ เลือกช่างไฟฟ้า แก้ 5 ปัญหาไฟเสียในบ้าน วิธีเลือกช่างไฟฟ้าที่ดี 1. คุณสมบัติและประสบการณ์ ช่างไฟฟ้าแต่ละคนต่างมีคุณสมบัติ ความรู้ และประสบการณ์การทำงานด้านนี้มากน้อยไม่เท่ากัน คุณควรมองหาช่างที่มีประสบการณ์ทำงานไฟฟ้ามาแล้วอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งมีการรับประกันให้ 12 เดือน ช่างไฟฟ้าที่ผ่านงานซ่อมไฟฟ้ามาพอสมควรจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงได้อย่างปลอดภัย 2. ใบอนุญาตหรือการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ปัจจัยสำคัญในการเลือกช่างไฟฟ้าอีกอย่างหนึ่งก็คือใบอนุญาตหรือใบประกอบวิชาชีพที่รับรองทักษะวิชาชีพด้านนั้น เพราะช่วยการันตีได้ว่าช่างคนนั้นมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญด้านไฟฟ้า ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดจนระบบไฟฟ้าที่ซับซ้อน ก่อนตัดสินใจว่าจ้างช่างไฟฟ้า จึงควรขอดูใบอนุญาตหรือใบประกอบวิชาชีพด้านการช่างให้ละเอียด โดยพิจารณาว่าใบประกอบวิชาชีพดังกล่าวครอบคลุมถึงความรู้และทักษะเกี่ยวกับประเภทงานที่คุณมองหาช่างมาช่วยแก้ไขด้วยหรือไม่3. การแนะนำบอกต่อถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะการฟังเสียงจากผู้ที่เคยใช้บริการจริงก็เป็นปัจจัยช่วยตัดสินใจว่าจ้างช่างไฟฟ้าได้ ยิ่งบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือเป็นบริษัทห้างร้านที่มีชื่อเสียง ก็ช่วยสร้างความมั่นใจและเครดิตที่ดีให้กับบริษัทหรือช่างไฟฟ้าที่จะใช้บริการได้ไม่ยาก นอกจากนี้ คุณอาจขอคำแนะนำจากคนใกล้ชิดว่ามีช่างไฟฟ้ามืออาชีพแนะนำหรือไม่4. ทัศนคติและการสื่อสารของช่างนอกเหนือจากความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถ และคำแนะนำบอกต่อแล้ว ทัศนคติและการสื่อสารของช่างก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจได้ว่าจะเลือกจ้างหรือไม่จ้าง เพราะทัศนคติในการบริการและให้คำปรึกษาลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างนายช่างกับลูกค้า โดยช่างไฟฟ้ามืออาชีพควรให้คำแนะนำหรือตอบข้อสงสัยลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีบริการดูแลหลังซ่อมแซมกรณีเกิดปัญหาขึ้นมาอีก 5 ปัญหาไฟฟ้าในบ้านที่เรามักเจอกันบ่อยๆ1. ไฟกระชากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นฟ้าผ่า ปลั๊กเสียหายอย่างหนัก เครื่องใช้ไฟฟ้าพัง หรือลวดไฟฟ้ามีปัญหาอยู่แล้ว หากเกิดไฟกระชากบ่อยอาจทำให้การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีปัญหาได้ง่าย […]
8 เคล็ดลับการดูแลบ้าน

บทความ 8 เคล็ดลับการดูแลบ้าน 1. ดูแลทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ บ้านที่สะอาดปราศจากฝุ่น หยากไย่ และคราบสกปรก จะทำให้ดูใหม่และน่าอยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องหมั่นทำความสะอาด ไม่ให้ฝุ่นหนา ขยะแน่น ข้าวของรกไร้ระเบียบ เคล็ดลับการทำความสะอาดแบบมืออาชีพคือ เริ่มต้นจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง และอย่าลืมทำความสะอาดรายละเอียดเล็กๆ ภายในบ้านด้วย เช่น รีโมททีวี ลูกบิดประตู ที่สำคัญควรใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้ทำความสะอาดบ้านได้ง่ายและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกจุดที่ต้องสะอาดเสมอ คือ ห้องครัว เพื่อไม่ให้สัตว์ต่างๆ เช่น มด แมลงสาบ หนู ที่มักจะมารวมตัวรอกินเศษอาหาร อันกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค โดยเช็ดเตาอยู่เสมอ ขจัดคราบน้ำมันออกให้หมด กำจัดขยะและของเน่าเสีย มัดปากถุงขยะเศษอาหารให้แน่น 2. สีบ้านอย่าให้หมอง สีทาบ้านเป็นด่านหน้าของบ้านที่แขกไปใครมาจะมองเห็นก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้บ้านดูใหม่และน่าอยู่ เราจึงควรสำรวจดูว่าผนังบ้านมีสีหมองลง หรือสีหลุดร่อนหรือไม่ มีร่องรอยแตกร้าวที่จุดไหน หากพบก็ควรรีบแก้ไข เพื่อรักษาสภาพให้บ้านมีสีสันสดใสดูใหม่อยู่เสมอ 3. ทำความสะอาดห้องน้ำและร่องยาแนว ห้องน้ำเป็นอีกห้องที่ต้องการการดูแลสม่ำเสมอ เพราะต้องเจอความเปียกชื้นแทบทั้งวัน จึงควรทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยเฉพาะร่องยาแนวในห้องน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่มีสิ่งสกปรกเกาะติดได้ง่ายมาก […]
5 วิธีเลือกช่างซ่อมประปา

บทความ 5 วิธีเลือกช่างซ่อมประปา เมื่อปัญหาประปาที่เจอยุ่งยากเกินจะรับมือไหว ก็จำเป็นต้องเรียกช่างซ่อมประปาให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาแทน ถึงอย่างนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องการหาช่างซ่อมประปามืออาชีพดี ๆ เข้ามาช่วยก็คือ “จะเลือกช่างซ่อมประปาอย่างไรให้มั่นใจได้ว่าจะจบงานสมบูรณ์แบบ” มาดูกันว่าวิธีเลือกช่างซ่อมประปาต้องพิจารณาอะไรบ้าง 1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ขั้นแรกควรตรวจสอบว่าช่างซ่อมประปาหรือบริษัทที่ให้บริการด้านนี้มีใบประกอบวิชาชีพถูกต้องหรือไม่ ผู้ที่จะมาดูงานให้นั้นมีความรู้และประสบการณ์โดยตรงหรือเปล่า เพราะจะช่วยทำให้เรามั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าช่างคนนั้นจะแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง 2. ดูประสบการณ์ทำงาน อายุงานก็ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน นอกเหนือจากความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว ควรดูด้วยว่าช่างซ่อมประปาที่เราจะว่าจ้างเคยผ่านงานมามากน้อยแค่ไหน เพราะปัญหาประปาบางอย่างก็จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพอสมควร ที่สำคัญ การสื่อสารและปฏิบัติต่อลูกค้าก็สำคัญ หากช่างประปาสามารถตอบข้อซักถาม รวมทั้งแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่าย ติดตามงานจนจบ ก็ช่วยยืนยันประสบการณ์การทำงานที่มีมากมาพอสมควร 3. สอบถามราคา ก่อนตกลงว่าจ้าง ควรถามราคาบริการให้แน่ใจและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไปแล้ว ช่างมืออาชีพหรือบริษัทที่ให้บริการมานานจะตีราคาให้บริการอย่างละเอียด ซึ่งครอบคลุมทั้งค่าแรงและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ตามกรณีที่เรียกไปซ่อม รวมทั้งบริการหลังการขายกรณีเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ทั้งนี้ ไม่ควรเลือกว่าจ้างช่างหรือบริษัทที่ให้คุณจ่ายเงินค่าจ้างก่อนรับงานมาซ่อมให้โดยเด็ดขาด 4. ศึกษาเงื่อนไขรับประกัน หากเกิดปัญหาหรือความเสียหายอื่นอันเกิดจากการซ่อมแซมประปา คุณต้องมั่นใจว่าช่างซ่อมประปาหรือบริษัทนั้นมีนโยบายชดเชยหรือรับประกันความเสียหายดังกล่าว เพราะคุณอาจต้องเสียเงินจ่ายค่าเสียหายเองกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นมาและไม่ได้สอบถามเรื่องนี้ให้เข้าใจตรงกันก่อน 5. มีเวลาการให้บริการที่ชัดเจน เพราะเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน หลายคนย่อมต้องการให้ทุกอย่างดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยเร็วที่สุด คุณจึงควรสอบถามเวลาการทำงานและจบงานกับช่างประปาให้ชัดเจนก่อนเริ่มว่าจ้าง เพื่อดูว่าช้าเกินไปหรือไม่ หรือดำเนินการภายใต้เวลาที่ต้องการได้ทันที ทั้งนี้ […]
6 แนวทางซ่อมหลังคารั่วให้เหมาะกับบ้าน

บทความ 6 แนวทางซ่อมหลังคารั่วให้เหมาะกับบ้าน 1) บ้านทาวน์เฮาส์อยู่อาศัยมานาน หลังคาลอนคู่รั่วซึมหลายจุด สามารถมุงเมทัลชีทที่มีรูปลอนแบบเดียวกันทับหลังคาเดิม หรือที่เรียกว่า “Top Up Roof” ตัวเมทัลชีทมีน้ำหนักเบา ไม่กระทบโครงหลังคาเดิม และที่สำคัญคือไม่กระทบกับหลังคาเพื่อนบ้านซึ่งมีโครงสร้างเชื่อมถึงกัน 2) บ้านทาวน์เฮาส์หลังคารั่วซึม โครงหลังคาแยกจากเพื่อนบ้าน สามารถซ่อมหลังคารั่วเฉพาะจุดและเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาบางส่วน หรือแม้แต่การรื้อกระเบื้องหลังคาเดิมมุงใหม่ในกรณีมีปัญหารั่วซึมหลายจุดก็สามารถทำได้ เนื่องจากโครงหลังคาไม่เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านจึงไม่กระทบถึงกัน 3) หลังคาลอนคู่บ้านเดี่ยวรั่วซึมหลายตำแหน่ง หากพบว่าการซ่อมหลังคารั่วเฉพาะจุดดูไม่คุ้ม อาจเลือกมุงวัสดุทับ ได้แก่ มุงแผ่นหลังคาเมทัลชีทแนบทับหลังคาลอนคู่เดิม (Top Up Roof) มุงแผ่นหลังคาเมทัลชีทพร้อมโครง ทับหลังคาลอนคู่เดิม (Double Roof) สามารถประยุกต์การใช้งานเพิ่มเติม เช่น ใช้ซ่อมหลังคารั่วสำหรับส่วนต่อเติมที่มุงกระเบื้องหลังลอนคู่ รวมถึงกรณีที่ต้องการติดฉนวนเพิ่มเพื่อกันร้อน กันเสียง ก็สามารถทำได้เช่นกัน 4) หลังคาบ้านเดี่ยวครอบหลังคารั่ว กระเบื้องแตกร้าวเล็กน้อย สามารถซ่อมหลังคารั่วเฉพาะจุดได้โดยรื้อครอบหลังคาที่เป็นวัสดุปูนของเดิมออก แล้วติดตั้งครอบหลังคาแบบแห้ง (Drytech System) ช่วยกันรั่วซึมระยะยาวได้ดี และเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทดแทนกระเบื้องเดิมที่แตกร้าวเสียหาย 5) หลังคาบ้านเดี่ยวอยู่อาศัยมานาน รั่วซึมหลายจุด หากพบว่าการซ่อมหลังคารั่วเฉพาะจุดดูไม่คุ้มค่า การเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งผืนอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า คุ้มกว่า ลดความเสี่ยงหลังคารั่วซึมระยะยาวได้มากกว่า และยังเปลี่ยนลุคให้บ้านดูสวยใหม่ขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาทั้งผืน หากมีระบบการทำงานที่ดี เจ้าของบ้านสามารถอยู่อาศัยในบ้านในช่วงเวลาที่ช่างทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องย้ายบ้านชั่วคราว 6) ส่วนต่อเติมหลังคารั่วซึมตามรอยต่อและผืนหลังคาบางจุด สามารถแก้ไขโดยใช้เทปกันซึม […]
4 วิธีการต่อเติมบ้าน ”ไม่ให้ทรุด”

บทความ 4 วิธีการต่อเติมบ้าน ”ไม่ให้ทรุด” การต่อเติมบ้าน คือสิ่งที่ทำเพิ่มเติม หรือนอกเหนือจากตัวบ้านเดิมโดยส่วนใหญ่นิยมต่อเติมในส่วนของบริเวณห้องครัว และ บริเวณโรงรถแต่เพื่อน ๆ หลายคนก็มักจะกังวลในเรื่องของการทรุดตัว วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับการต่อเติมบ้านแบบถูกวิธีเพื่อลดปัญหาการทรุด การทรุดตัวของบ้าน ปกติแล้วย่อมมีการทรุดตัวเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งจะทรุดเพียงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่และระยะเวลา แต่หากมีการต่อเติมเพิ่มเข้าไปนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาการทรุดตัวที่เร็วและมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นควรมีการต่อเติมแบบถูกต้อง ระมัดระวังตัวบ้านให้มากที่สุด เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว หรือ แทบไม่ทรุดเลย 1. ต่อเติมโดยแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน สำหรับการต่อเติมนั้น Infinity Design ผ้าม่าน แนะนำให้แยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน ไม่ใช้ผนังเดียวกัน หรือไปฝากไว้กับตัวบ้านเดิม เพราะหากเกิดการทรุดตัว ในส่วนที่ต่อเติมจะดึงรั้งกับตัวบ้านเดิม ทำให้มีการฉีกขาดนั้นเอง อีกทั้งในส่วนของรอยต่อ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นควรมีขั้นตอนการทำที่ถูกวิธี อาทิ ใช้โฟมกั้นระหว่างรอยต่อ ก่อนทำการยาแนวด้วย PU หรือ Silicone เป็นต้นค่ะ 2. ลงเสาเข็มถึงชั้นดินแข็ง ในส่วนของการต่อเติมนั้น การลงเสาเข็มถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยลดการทรุดตัวได้ในระดับหนึ่งหรือแทบไม่ทรุดเลยโดยบริเวณใต้ดินหลัก ๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือชั้นดินอ่อน และชั้นดินแข็งซึ่งการลงเสาเข็มหากเป็นไปได้แนะนำให้ลงยาวถึงชั้นดินแข็งเนื่องจากชั้นดินแข็งจะให้ความมั่งคงมากกว่าชั้นดินอ่อนนั้นเอง […]